วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict Resolution)ความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง มีขันติ
อดทนอดกลั้นต่อความแตกต่างขัดแย้ง สามารถเจรจาต่อรอง เชื่อมประสาน เพื่อลดปัญหาหรือคลาย
ปมขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง

ความขัดแย้ง เป็นการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างผู้ที่ไม่ลงรอยกัน (ทั้งบุคคลหรือกลุ่ม) ในด้านความต้องการ ความปรารถนา ความคิด และผลประโยชน์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มที่เผชิญหน้าไม่สามารถหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้
                                ความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องต้องกัน ระหว่างกลุ่มที่มีความสนใจต่างกัน
                                ความขัดแย้ง เป็นกระบวนการหนึ่งที่เริ่มต้นเมื่อกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่าตนถูกทำลายจากกลุ่มอื่นหรือส่อเค้าว่ากลุ่มอื่นตั้งท่าจะทำลายตน
                                ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่ทำให้คนตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้
                                ความขัดแย้ง หมายถึง สถานการณ์ที่คนมีความเห็น ความเชื่อไม่ตรงกัน และตกอยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะตกลงหาข้อยุติที่น่าพอใจได้ทั้งสองฝ่าย หากปล่อยปละละเลย ไม่หาทางทำความเข้าใจอาจก่อให้เกิดความแตกแยก อิจฉาริษยา ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความเสื่อมโทรมของหน่วยงานได้
                                ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่บุคคล 2 ฝ่าย มีความคิดเห็น หรือความเชื่อที่ไม่ตรงกันและยังไม่สามารถหาข้อยุติที่สอดคล้องต้องกันได้
                                ความขัดแย้งขององค์การ คือ ความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิก หรือกลุ่มขององค์การสองกลุ่ม หรือมากกว่าเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับว่า พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในทรัพยากรที่จำกัด หรืองานต่าง ๆ หรือพวกเขามีความแตกต่างในด้านสถานภาพ เป้าหมาย ค่านิยม การรับรู้ ทัศนคติ ความเชื่อซึ่งแตกต่างกันและไม่เห็นพ้องต้องกัน ต่างก็พยายามแสดงทัศนะของพวกเขาให้เด่นกว่าบุคคลอื่น หรือความต้องการของเขาไม่ได้รับการตอบสนอง
                                จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ขัดกันทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขัน หรือการทำลายกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น