วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดหลักการ และสถาบัน การมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกของสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับโลก ตลอดจนการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคมที่คานึงถึงสิทธิมนุษยชนและอุดมการณ์ประชาธิปไตย
การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ความรู้ ความเข้าใจหรือความจาเป็นในการจรรโลง รักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยปราศจากการทาลายโลกใบนี้ เพื่อความอยู่รอดของชีวิตในรุ่นต่อไป โดยคานึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบัน
.
โดยไม่ทำให้ผู้คนในอนาคตเกิดปัญหาในการตอบสนองความต้องการของตนเอง
.
(นิยามของคณะกรรมการโลก ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาWorld Commission on Environment and Development
.

ในรายงาน Our Common Future 1987 หรือ Brundtland Report)
.
การพัฒนาที่ยั่งยืนรวมความถึง3 ด้าน
.
คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
.
ซึ่งเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน โครงการพัฒนาใด ๆ
.
ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง3 ด้านนี้
.
.
การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอะไรที่ไกลกว่าเพียงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
.
เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคม
.
เพื่อลดการบริโภคทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
.
ลงไปในระดับที่ยังรักษาความสมดุลที่ดี
.
ทำให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ทำลายล้างอย่างที่ผ่านมา
.
และยังทำกันอยู่หลายแห่ง ให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน อยู่ดีกินดี และอยู่เย็นเป็นสุข

ค่านิยมและการตระหนักรับรู้ (Values and Perceptions) ความสามารถในการประเมินค่าเกี่ยวกับประเด็นสาคัญระดับโลกและผลที่กระทบต่อเจตคติและค่านิยมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง โดยคานึงถึงความสาคัญและค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชน

ค่านิยม
หมายถึง สิ่งที่สังคมถือว่ามีค่าพึงปราถนาต้องการให้เป็นเป้าหมายของสังคมและปลูกฝัง ให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการดำเนินชีวิตควรหลีกเลี่ยง เช่น ความยากจน สิ่งมีคุณค่า น่าปราถนา หรือนำความสุขมาให้มีทั้งเป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุ

ค่านิยม

        ค่านิยมเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาได้เช่นเดียวกันกับความเชื่อและมีความแตกต่างกันไปตามสังคมและวัฒนธรรมค่านิยมส่วนใหญเนื่องมาจากความเชื่อ
        ค่านิยมไทยใหม่จะมีลักษณะสากลมากขึ้น เช่น นิยมยกย่องวัตถุ ความมั่นคง ความหรูหราฟุ่มเฟือย ความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ยึดมั่นในประเพณี ชื่นชมวัฒนธรรมตะวันตก และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือ อำนาจและเกียรติยศชื่อเสียง การดูแลรักษาสุขภาพด้วยโภชนาการ และการออกกำลังกาย
การปลูกฝังค่านิยม
        การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นเก่าไปยังสมาชิกใหม่ของสังคม เกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการเลี้ยงดูเด็กและการขัดเกลาทางสังคม เริ่มต้นจากพ่อ แม่ ญาติ เพื่อน และสื่อต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนทางสังคมที่ทำหน้าที่ปลูกฝังถ่ายทอดปลูกฝังวัฒนธรรม เริ่มจากการเป็นแบบอย่างให้เด็กเลียนแบบจนเป็นความเคยชินซึมซับจนกลายเป็น คุณสมบัติอย่างหนึ่งของเด็กโดยไม่รู้ตัวสิ่งเหล่านี้จะช่วยกล่อมเกลาเด็กให้ เกิดการเรียนรู้และรับถ่ายทอดวัฒนธรรมรวมทั้งค่านิยม
การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence) ความเข้าใจตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าใจสภาวการณ์ในระดับโลก สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้
 
การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วม มือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม ยิ่งกว่านั้น เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบการค้า มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ
 ตลอด จนมีการแลกเปลี่ยน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศสมาชิกในองค์กรได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆได้ เช่น ความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว และได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในด้าน การพึ่งพาอาศัยกัน เช่น แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าหรือใช้ปัจจัยการผลิตที่ประเทศตนเอง สามารถผลิตได้ กล่าวคือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและ มาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ซึ่งแต่ละประเทศมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้ส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นด้วย ดังนั้นการพึ่งพาอาศัยกันในรูปของการร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และองค์กรที่มีความเข้มแข็งสามารถต่อรองทางการค้ากับประเทศต่างๆได้

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict Resolution)ความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง มีขันติ
อดทนอดกลั้นต่อความแตกต่างขัดแย้ง สามารถเจรจาต่อรอง เชื่อมประสาน เพื่อลดปัญหาหรือคลาย
ปมขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง

ความขัดแย้ง เป็นการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างผู้ที่ไม่ลงรอยกัน (ทั้งบุคคลหรือกลุ่ม) ในด้านความต้องการ ความปรารถนา ความคิด และผลประโยชน์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มที่เผชิญหน้าไม่สามารถหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้
                                ความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องต้องกัน ระหว่างกลุ่มที่มีความสนใจต่างกัน
                                ความขัดแย้ง เป็นกระบวนการหนึ่งที่เริ่มต้นเมื่อกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่าตนถูกทำลายจากกลุ่มอื่นหรือส่อเค้าว่ากลุ่มอื่นตั้งท่าจะทำลายตน
                                ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่ทำให้คนตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้
                                ความขัดแย้ง หมายถึง สถานการณ์ที่คนมีความเห็น ความเชื่อไม่ตรงกัน และตกอยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะตกลงหาข้อยุติที่น่าพอใจได้ทั้งสองฝ่าย หากปล่อยปละละเลย ไม่หาทางทำความเข้าใจอาจก่อให้เกิดความแตกแยก อิจฉาริษยา ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความเสื่อมโทรมของหน่วยงานได้
                                ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่บุคคล 2 ฝ่าย มีความคิดเห็น หรือความเชื่อที่ไม่ตรงกันและยังไม่สามารถหาข้อยุติที่สอดคล้องต้องกันได้
                                ความขัดแย้งขององค์การ คือ ความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิก หรือกลุ่มขององค์การสองกลุ่ม หรือมากกว่าเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับว่า พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในทรัพยากรที่จำกัด หรืองานต่าง ๆ หรือพวกเขามีความแตกต่างในด้านสถานภาพ เป้าหมาย ค่านิยม การรับรู้ ทัศนคติ ความเชื่อซึ่งแตกต่างกันและไม่เห็นพ้องต้องกัน ต่างก็พยายามแสดงทัศนะของพวกเขาให้เด่นกว่าบุคคลอื่น หรือความต้องการของเขาไม่ได้รับการตอบสนอง
                                จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ขัดกันทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขัน หรือการทำลายกัน

ความเป็นธรรมในสังคม (Social Justice) ความสานึก ตระหนักในความสาคัญของความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม

ความเป็นธรรม คือ หลักของธรรมที่คนใช้ในการกำหนดความประพฤติของตนเองในสังคม เพื่อให้ตนเองเกิดการเรียนรู้ธรรม ที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษาธรรมได้ไม่จำกัด ว่าคนที่จะเป็น ชาย หญิง คนพิการ คนที่ติดคุกแล้ว อยากกลับตัวกลับใจ ไปศึกษาธรรม ก่อจะมีความเป็นธรรมได้เอง

ความเสมอภาค คือ คือความเท่าเทียมกัน ที่กำหนดจากรัฐธรรมนูญ หรือกำหนดจากเหตุพื้นฐานการปกครองบ้านเมือง ที่ประชาชนเรียกร้องให้ ผู้ปกครอง ต้องให้ประชาชนมีความเสมอภาค เป็นความหมายทางตรรกะแต่ไม่อาจจะมีความเสมอภาคอย่างเป็นธรรม เพราะธรรมคือธรรมชาติ ที่บุคคลเกิดมาจากพื้นฐานที่เกิดไม่เหมือนกัน ไม่ว่า เพศ หน้าตา การได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การอบรมเลี้ยงดู ฯลฯ

ความยุติธรรม คือ การต่อสู้ในทางที่ถือกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมาย ที่คนส่วนใหญ่เห็นชอบกับการนำกฎหมายมาบังคับใช้ ความยุติธรรมเป็นความหมายในทางกฎหมาย แต่ไม่สามารถให้ความยุติธรรมในความหมายของคนทุกคน เพราะความคิดในขั้นพื้นฐานที่คนรู้จักกฎหมาย ไม่เท่าเทียมกัน จึงไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรมได้เท่าเทียมกันได้

แต่มีสองสิ่งที่คนทุกคนจะมีได้เท่าเทียมกัน คือ เวลา และความตาย ที่หนีไม่พ้น ตั้งแต่เกิด ถึง วันตาย เมื่อเกิดมาแล้ว ก็เริ่มได้รับเวลา ในการนับอายุ เพื่อไปถูกกำหนดไว้ในกฎหมายอีก ว่าจะเป็น ทารก ผู้เยาว์ ผู้บรรลุนิติภาวะ แล้วก็รอวันตาย ซึ่งทุกคนต้องไปถึงเหมือนกัน ไม่มีวันหลีกหนีพ้นไปได้

ความหลากหลาย (Diversity) ความรู้ ความเข้าใจการยอมรับและตระหนักในความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งความหลากหลาย ทางชีวภาพตลอดจนผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ
      คำว่า ความหลากหลายทางชีวภาพ มา จาก biodiversity หรือ biological diversity ความหลากหลาย (diversity) หมายถึง มีมากมายและแตกต่าง ทางชีวภาพ (biological) หมายถึง ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต
      ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพสำคัญอย่างไร
     ความหลากหลายทางชีวภาพมีอยู่ระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ
      ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวจ้าว หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ และสัตว์ปี เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น
      ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชที่มีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995)
      ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั้งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน
      ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิ ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย
สิทธิมนุษยชน(Human Rights) ความรู้ ความเข้าใจและยึดมั่น ในสิทธิมนุษยชน 
สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิเสรีภาพที่จำเป็นขั้นพื้นฐานที่คนทุกคนพึงได้รับอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ชาติกำเนิด ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต เพศ รูปลักษณ์ภายนอก อายุ และสติปัญญา หรือมีความไม่เท่าเทียมกันในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมมากน้อยเพียงใดก็ตาม
             เนื่องจากแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นเชื่อว่าคนเราเกิดมามีเกียรติ มีคุณค่า และมีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน ทุกข์สุข หัวเราะและร้องไห้เป็นเหมือนกัน โดยไม่แบ่งแยกว่าจะยากดีมีจน หรืออ้วนผอมดำขาว คนทุกคนจึงควรที่จะได้รับสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานอย่างเสมอภาคกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองอย่างเต็มศักยภาพของตน
 
 อะไรบ้างที่เป็นสิทธิมนุษยชน?
สิ่งที่จำเป็นขั้นพื้นฐานต่อการอยู่รอดและพัฒนาตัวเองคือสิทธิของมนุษยชน              
-          มีปัจจัยสี่
-          ใช้ชีวิตอย่างเสรีและมั่นคงปลอดภัย
-          มีส่วนร่วมทางการเมือง
-          มีเสรีภาพในการพูด แสดงความคิดเห็น หรือชุนนุมโดยสันติ
-          มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
-          มีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
-          มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ
-          ไม่ถูกทรมานหรือทำร้ายร่างกาย
-          ไม่ถูกจับกุมคุมขังโดยพลการ
-          ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือดูหมิ่นเหยียดหยาม
-          ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเสมอภาค
-          ได้เรียนหนังสือและรับรู้ข่าวสารต่างๆ
-          เข้าถึงบริการสาธารณะ
-          ได้รับสวัสดิการสังคม